------ประวัติส่วนตัว------
ชื่อจริงชื่อ นายกฤษฎา วิสัยรัตน์
หรือโนรากฤษฎาชาตรี ชื่อเล่น หนึ่ง เกิดเดือน กันยายน ๒๕๒๙ อายุปัจจุบัน ๒๖ ปี
ที่อยู่ ๗๓ ม. ๒ ต.ตากแดด อ.เมือง จ.ชุมพร ที่อยู่ปัจจุบัน ๒๐๐ / ๖๔ ถนนสหกรณ์ซอย
๓ ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร
------การศึกษา------
๑. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลชุมพร
๒. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร
๓. มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ห้อง 1 (แผนวิทย์-คณิต)
๔. ระดับอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชา
เอกสังคมศึกษา (หลักสูตร ๕ ปี)
๒. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร
๓. มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ห้อง 1 (แผนวิทย์-คณิต)
๔. ระดับอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชา
เอกสังคมศึกษา (หลักสูตร ๕ ปี)
เริ่มเรียนวิชาโนราจากโรงเรียนศรียาภัย
ในกิจกรรมชุมนุมศิลปะพื้นบ้าน โดย อาจารย์นิยม บำรุงเสนา (ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่
๓) เริ่มเเรกมีความสนใจจากการได้ชมโนราในการเเสดงบ่อยครั้งในชุมชนวัดประเดิม
ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของจ.ชุมพร จนอายุ ๑๔ ปี ในงานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ประจำปี
ได้มีคณะโนราของโรงเรียนศรียาภัยไปแสดงได้อย่างประทับใจ
จึงขอสมัครเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมในเบื้องต้นมีความชอบและสนใจการเล่นเครื่องดนตรี
จึงฝึกหัดจนสามารถเล่นได้
จนเป็นนักดนตรีหลักของคณะหลังจากนั้นจึงฝึกฝนการรำอย่างจริงจังจากอาจารย์นิยม
บำรุงเสนาโดยในขณะนั้นได้เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาร่วมถ่ายทอดและฝึกฝนคือ
โนราสังวาลย์ นาฏศิลป์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร โนราสมนึก โนราแจ่มศรี โนรากัลยา นาฏราช
จ.ระนอง จนสามารถรำได้อย่างชำนาญแล้วจึงผ่านพิธีผูกผ้าใหญ่ ครอบเทริด
และออกแสดงในคณะโนราศรียาภัย มาโดยตลอด
นอกจากนั้นได้ความรู้การรำโนราเพิ่มเติมจาก
โนราผ่อน อุทุมสกุลรัตน์ แห่เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี โนราชม เย็นทั่ว
(มารดาโนราสมพรจิตร) อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
- ความรู้การรำโนราเฆี่ยนพราย
โนราแทงเข้ จาก โนราประเสริฐ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
และเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการแสดงโนราโดยการติดตามชมจากครูอาจารย์อีกหลายท่านครูอาจารย์ที่มีพระคุณด้านวิชาโนราที่สุดคือ
อาจารย์นิยม บำรุงเสนา
ผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาให้อย่างไม่มีปิดบังซ่อนเร้นครูโนราที่เป็นแรงบันดาลใจในการแสดงโนรา
คือ โนรากัลยา นาฏราช ผู้ถ่ายทอดลีลาการร่ายรำที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งการทำบท ๗
ชั้นอย่างโบราณ
- โนราสมนึกโนราแจ่มศรี ผู้ถ่ายทอดการรำขอเทริด
การรำทำบทอย่างโบราณตลอดจนครูอาจารย์โนราที่เป้นครูพักลักจำเนื่องจากประทับใจในการร่ายรำที่โดดเด่น
เช่น โนราสร้อยเพชร ดาวรุ่ง อ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์
------ประสบการณ์การทำงาน------
ด้านการแสดงโนรา
ช่วงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ก่อตั้งกลุ่มกิจกรรมรักษ์โนรา
ฝึกหัดการเล่นเครื่องดนตรีและรำโนราแก่นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
ที่มีความสนใจดำรงตำแหน่งประธานชมรมทักษิณศิลปากร จัดทำโครงการ"สืบศิลป์โนรา"
เพื่อฝึกหัดการแสดงโนราแก่สมาชิกชมรม บุคคลากรของมหาวิทยาลัย
และประชาชนผู้สนใจทั่วไป จนสามารถออกแสดงได้ในหลายโอกาส
เช่น
- ปี
๒๕๔๘
- รำโนราแสดงความยินดีกับบัณฑิต
คณะศึกษาศาสตร์
- รำโนราในโครงการลูกเต้าเหล่าศิลป์
หารายได้จากการแสดง จัดกิจกรรมวันเด็ก ให้เด็กด้อยโอกาสโรงเรียนบางกระเจ้า
จ.สมุทรปราการ
- รำโนรา
พิธีเปิด โครงการนำน้องท่องวัง
- ปี
๒๕๔๙
- รำโนราในพิธีเปิดกิจกรรม
SU Fastival
2006 ณ สวนสันติชัยปราการ กรุงเทพฯ
- รำโนราในงาน
Art Fastival
2006 ณ วิลเลจ หัวหิน
- รำโนรา
โครงการวันเวลาภาษาไทย ร่วมกับการแสดงเพลงพื้นบ้านของแม่ขวัญจิตต์ สรีประจันต์
- ปี
๒๕๕๐
- รำโนราค่าย"ความรู้สู่น้อง"
โรงเรียน วัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นคปฐม
- รำโนรา
งานเลี้ยงนัดพบชาวใต้นครปฐม
- ปี
๒๕๕๑
- รำโนราพิธีเปิดการแข่งขัน
U-DORM GAMES
2008 กีฬาหอพักภูมิภาคตะวันตก
- รำโนรา
งานแสดงมุฑิตาจิตแด่บุคคลากร อาจารย์ ที่เกษียณอายุราชการ ปี 2551
- รำในราในงานแถลงข่าว
กิจกรรมงานประชุมวิจัยวิชาการระดับนานาชาติ ทางด้านคติชนและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( ICAF 2009 ) ณ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- รำโนราในกิจกรรมงานประชุมวิจัยวิชาการระดับนานาชาติ
ทางด้านคติชนและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( ICAF
2009 ) ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์
- รำโนราปิ่นมาลากุลวรานุสรณ์
เพื่อสดุดีเกียรติคุณของ ศ.มล.ปิ่น มาลากุล ณ หอสมุดกลางพระราชวังสนามจันทร์
-----------------เมื่อจบการศึกษา--------------
กลับมาเป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา
โรงเรียนศรียาภัยจังหวัดชุมพรและเป็นวิทยากรท้องถิ่น(โนรา)
แก่ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชุมพร โดยการสนับสนุนจาก อ.นิยม
บำรุงเสนา เป็นเวลา ๑
ปีเต็มในขณะนั้นมีโอกาสเป็นผู้ช่วยฝึกหัดนักเรียนใหม่ในคณะโนราศรียาภัย ทั้งการรำ
และเล่นดนตรีได้เป้นอย่างดีจน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
ได้รับบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู โรงเรียนวัดปิยะวัฒนาราม อ.ละแม
จ.ชุมพรจึงตั้งคณะ "โนราโรงเรียนวัดปิยะวัฒนาราม" อ.ละแม
จ.ชุมพรโดยรับสมัครนักเรียนที่มีความสนใจ ฝึกซ้อมในเวลาหลังเลิกเรียนของทุกวัน
ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนเข้าฝึกหัดเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป้นอย่างดีจากผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรท้องถิ่น
คณะครูและผู้บริหารโรงเรียนวัดปิยะวัฒนารามโดยออกทำการแสดงอย่างต่อเนื่องในหลายโอกาส
เพื่ออนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรำโนราให้อยู่คู่แผ่นดินต่อไป
----เกียรติประวัติจากการทำงานด้านโนรา----------
๑. ได้รับประกาศนียบัตร
ประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ยิ่ง จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒. ได้รับใบกาศเกียรติคุณ
ผู้นำนักศึกษาดีเด่น (ด้านศิลปวัฒนธรรม) จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร
๓. ได้รับประกาศนียบัตร วิทยากร การแสดงโนรา
กิจกรรมค่ายรักษ์ศิลป์ไทย สพป. ชพ.๒
๔. ได้รับเชิญเป็นครูพิเศษ
ให้ความรู้ด้านการรำโนรา
โรงเรียนวัดนาทุ่ง
โรงเรียนวัดน้อมถวาย อ.เมือง จ.ชุมพร
โรงเรียนละแมวิทยา
อ.ละแม จ.ชุมพร
---อุดมการณ์การทำงานด้านโนรา---
๑. จะพลีกายใจและชีวิตอุทิศแก่วิชาโนรา
เพื่อให้โนรายังดำรงอยู่คู่แผ่นดินสืบไป
๒. ศรัทธาต่อครูหมอโนรา ไม่ทรยศ
ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ทำให้วิชาโนราเสื่อมถอยตกต่ำ
๓. ทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาโนราแก่เยาวชน
โดยเน้นสร้างความตระหนัก ปลูกฝังความรักชาติ รักท้องถิ่นแผ่นดินเกิด
เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืน ไม่เน้นการแข่งขันเพื่อชัยชนะซึ่งเป็นเรื่องฉาบฉวย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น